วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


ประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่น

ประเภทของวรรณกรรมท้องถิ่น
                จากการศึกษาของนักศึกษา ได้แบ่งวรรณกรรมท้องถิ่นโดยทั่วไปตามลักษณะการถ่ายทอด แบ่งออกเป็น ประเภทคือ
                1. วรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการเล่าสืบต่อกันมาวรรณกรรมประเภทนี้ ได้แก่ประเพณีต่างๆ นิทาน การแหล่ขวัญ คำสู่ขวัญ ภาษิต ปริศนา ผญา เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก เพลงประกอบการละเล่น เป็นต้น
                2. วรรณกรรมลายลักษณ์ ได้แก่วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งลักษณะคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง ส่วนใหญ่จะจาลึกไว้ในใบลาน


คุณค่าของวรรณกรรมท้องถิ่น
                วรรณกรรมท้องถิ่นมีประโยชน์มากมายหลายประการดังนี้
                1. ให้ความบันเทิงใจแก่ชุมชน เช่น ขับเสภาในภาคกลาง เล่าค่าวหรือขับลำนำภาคเหนือ อ่านหนังสือในบุญงันงานดีในภาคอีสาน และสวดหนังสือและสวดด้านในภาคใต้
                2. ให้เข้าใจในค่านิยม โลกทัศน์ของแต่ละท้องถิ่นผ่านทางวรรณกรรม
                3. เข้าใจวรรณกรรมของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ
                4. ก่อให้เกิดความรักถิ่นหวงแหนมาตุภูมิ และรักสามัคคีในท้องถิ่นของตน


       พรทิพย์ ซังธาดา.(2538). วรรณกรรมท้องถิ่น.กรุงเทพ, สุวีริยาสาส์น, 2538.11-18หน้า.